วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีวัฒนธรรม

การแข่งโพน



ช่วงเวลา

        ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ


ความสำคัญ 

        วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็นการประกาศให้ชาวบ้านรู้ว่า ทางวัดจะจัดให้มีการชักพระ ต่อมามีการโต้เถียงเกี่ยวกับเสียงโพน จึงคิดเล่นสนุกสนานมากขึ้น มีการท้าพนันกันบ้างว่า ผู้ตีโพนคนใดเรี่ยวแรงดีที่สุด ลีลาท่าทางการตีดีที่สุด โพนวัดใดเสียงดังมากที่สุด จึงมีการแข่งขันตีโพนกันขึ้น ในระยะ แรก ๆ เข้าใจว่า คงตีแข่งขันภายในวัดและค่อยขยายออกมาภายนอกวัด เพิ่มจำนวนโพนขึ้น จัดประเภทและมีกติกามากขึ้น การคิดเล่นสนุกสนานเหล่านี้ ทำให้มีการแข่งโพนกันอย่างกว้างขวางในระยะหลัง และกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันการแข่งโพนเป็น กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง


พิธีกรรม 

        การแข่งโพนแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ 

        ๑. แข่งมือ ตัดสินให้ผู้ตีที่มีกำลังมือดีกว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยให้ตีจนผู้ใดอ่อนล้าก่อนเป็นฝ่ายแพ้ ปัจจุบันไม่นิยมเพราะทำให้เสียเวลามาก 

        ๒. แข่งเสียง ตัดสินให้โพนที่มีเสียงดังกว่าเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันจะเป็นแบบพบกันหมดหรือแพ้คัดออกก็ได้ จับสลากแข่งขันเป็นคู่ ๆ ใช้ผู้ตีฝ่ายละ ๑ คน กรรมการ ๓ - ๕ คน ตัดสินให้คะแนน โดยอยู่ห่างจากสถานที่ตีไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร ณ สถานที่ตี กรรมการควบคุมการตีและคุมเวลา เรียกคู่โพนเข้าประจำที่ ลองตีก่อนฝ่ายละประมาณ ๓๐ วินาที เพื่อดูว่าโพนฝ่ายใดมีเสียงทุ้ม และโพนฝ่ายใดมีเสียงแหลม จากนั้นเริ่มให้ทั้งคู่ตีพร้อมกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากจะใช้เวลา ๑๐ - ๑๕ นาที ขณะที่โพนกำลังตีแข่งขันอยู่นั้น กรรมการฟังเสียงทั้งหมดจะตั้งใจฟังเสียงโพนแล้วตัดสินให้โพนที่มีเสียงดัง กว่าเป็นฝ่ายชนะ โดยถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน


สาระ 

        การแข่งขันโพน นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกับพิธีการทางศาสนาบางประการแล้ว กิจกรรมการละเล่นชนิดนี้ยังช่วยให้มองเห็นการแสวงหาความสุข ความบันเทิงใจ อีกทั้งยังเป็นสื่อในการประสานความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสพบปะสัมพันธ์กัน เป็นกิจกรรมการละเล่นที่สำคัญนำมาสู่การสร้างสรรค์ ความสามัคคีในชุมชน จึงควรอนุรักษ์ให้ การละเล่นชนิดนี้คงอยู่ตลอดไป

 


อ้างอิง : https://www.youtube.com/watch?v=cwcj8InPheY


วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนที่ 16

 ผลการเรียนที่ 016

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)


วันที่ 7 ตุลาคม 2564


    คาบนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้นัดหมายสมาชิกในกลุ่มทำโครงงานเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายในการทำโครงซึ่งการเรียบเรียงรายงานนั่นเอง มีดังนี้


                            


                             1. ปกนอก ปกใน


                             2. บทคัดย่อ Abstract กิตติกรรมประกาศ


                             3. สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

                             4. บทที่ 1 บทนำ


                             5. บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


                             6.  บทที่ 3 วิธีการศึกษา


                             7. บทที่ 4 ผลการศึกษา


                             8. บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ


                             9. บรรณานุกรม


                             10. ภาคผนวก


                             11. แผนการจัดการเรียนรู้







 

ผลการเรียนรู้ที่ 15

 ผลการเรียนรู้ที่ 015

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System)


วันที่ 30 กันยายน 2563

    สมาชิกภายในกลุ่มได้มีการนัดประชุมทำงานออนไลน์ผ่าน Google มีเพื่อทำระบบและเพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่ตนเองได้รับมอบหมายโดยในครั้งนี้จะมีการเพิ่มเนื้อหาส่วนต่างๆหรือแบบทดสอบที่ของแต่ละคนต้องเพิ่มเติมเพื่อให้ระบบนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุดและสุดท้ายนั้นได้มีการพูดคุยในเรื่องของการทำรายงานในบทที่ 5 เพื่อหาผลสรุป



ผลการเรียนรู้ที่14

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  014

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System) 



        23 กันยายน 2564

        คาบบนี้จารย์งดการเรียนการสอนเพื่อที่จะให้นัก ศึกษาได้ทำโครงงานต่อในบทที่สี่และบทที่ห้าและเช้าของวันนี้กลุ่มของพวกเราได้นัดสมาชิกทั้งหมดเข้าร่วมประชุมด้วยกันเพื่อปรึกษาหารือในเรื่องของเนื้อหาบทที่สี่และบทที่ห้าพร้อมแบ่งหน้าที่ หัวข้อให้แต่ละคนนั้นไป หาข้อมูลตามที่ตนได้รับมอบหมายหรือตามหัวข้อที่ได้แบ่งกันไว้ในที่ประชุม และหลังจากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำตามที่ตนได้รับมอบหมาย


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 0 13

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System) 



        16 กันยายน 2564 

    หลังจากที่อาจารย์งดการเรียนการสอนไปสองสัปดาห์กลับมาเจอในคาบนี้ก็คือมีกิจกรรมนำเสนอโครงงานบทที่สอง และบทที่สามโดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวแทน นำเสนอโครงงานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้




        โดยแต่ละกลุ่มก็จะนำเสนอหัวข้อที่ได้รับมอบมีหัวข้อดังต่อไปนี้

            กลุ่มที่ 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา วิทยาการ             คำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

            กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่าง                ปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

            กลุ่มที่ 5  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น                     มัธยมศึกษาปีที่ 4

            กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์             รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

            กลุ่มที่ 1  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี                        (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

            กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบ

        และเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

        กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา 

       การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1  

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่  012

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System)

        9 กันยายน 2564



        คาบนี้เป็นคาบที่สองที่อาจารย์มีการงดการเรียนการสอนกลุ่มของดิฉันได้นัดสมาชิกในกลุ่มประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันในการทำโครงงานโดยจะนัดสมาชิกในกลุ่มผ่าน Google Meet เพื่อที่จะแก้ไขข้อมูลในส่วนต่างๆหรือเพิ่มข้อมูลในส่วนต่างๆในระบบhttps://smp.yru.ac.th/my/โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเองและเพิ่มข้อมูลลงในระบบซึ่งจะแบ่งให้คนละหนึ่งบทแต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูลในส่วนต่างๆที่ได้รับมอบหมายตามที่กำหนดไว้แล้วอย่างอิสระ

        

       

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่  011

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System)

        2 กันยายน 2564



         สัปดาห์นี้อาจารย์งดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้นัดประชุมภายในกลุ่มเพื่อทำโครงงานให้มีความคืบหน้าและกลุ่มของดิฉันได้นัดสมาชิกในกลุ่มเพื่อแบ่งหน้าที่และหัวข้อเพื่อจะแบ่งเบาภาระงานของแต่ละคนเพื่อให้โครงงานนั้นสำเร็จลุล่วงตรงตามเวลาที่อาจารย์เป้าหมมายไว้โดยสัปดาห์นี้จะแบ่งในบทที่ 2 และ บทที่3 มีดังนี้

           บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

            1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน

                1.1 ความหมายของการเรียนการสอน

                1.2 ความหมายของการจัดการเรียนรู้

                1.3 ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน

        2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ออนไลน์ 

                2.1 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์

                2.2 นวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์และตัวอย่าง

        3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบอีเลิร์นนิง

                3.1 นิยามระบบอีเลิร์นนิง

                3.2 รูปแบบอีเลิร์นนิ่ง

                3.3 องค์ประกอบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

                3.4 ข้อดีและข้อจํากัดของการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

        4.  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน

            แบบอีเลิร์นนิง

                4.1 การออกแบบการเรียนการสอน

                4.2 การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model

        5. เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา มีหัวข้อดังต่อไปนี้      

        1. การวิเคราะห์ (Analysis) 

        2. การออกแบบ (Design) 

        3. การพัฒนา (Development) 

        4. การนําไปใช้ (Implementation) 

        5. การประเมินผล (Evaluation)                                                                     








ประเพณีวัฒนธรรม

การแข่งโพน ช่วงเวลา           ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ ความสำคัญ            วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็น...