วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ (E-Learning and LMS)

 

 



    วันที่ 15 เดือนกรกฎาคม 2564
     สัปดาห์ที่ 4 ซึ่งเป็นคาบที่อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนด้วยการทดสอบก่อนเรียนด้วย Game kahoot และหลังจากที่ทดสอบเสร็จก็เริ่มต้นบทเรียนด้วยการบรรยายเนื้อที่อยู่ในบทที่2 สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

- ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง
    การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เป็นนวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นขั้นตอนด้วยวิธีการเชิงระบบ  โดยกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้  การจัดการเรียนการสอนยึดตามหลักทฤษฎีทางการศึกษาและทฤษฎีการเรียนการรู้ รวมถึงหลักจิตวิทยาการศึกษา  การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการถ่ายโอนกลยุทธ์การสอน

- ลักษณะของอีเลิร์นนิ่ง
1.  อีเลิร์นนิ่งเป็นการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
2. เนื้อหาและวิธีการสอนของอีเลิร์นนิ่งจะใช้ สื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์
3.  กิจกรรมการเรียนการสอนของอีเลิร์นนิ่งได้
4.  ระบบการเรียนการสอน มีการจัดเตรียม เครื่องมือสนับสนุนในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับระบบ

- องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง
1. ด้านวิธีสอน                                       
2. ด้านเทคโนโลยี
3. ด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้     
4. ด้านการประเมินผล
5. ด้านการบริหารจัดการ                         
6. ด้านทรัพยากรสนับสนุน
7. ด้านจริยธรรม                                    
8. ด้านหน่วยงานรับผิดชอบ

- ประเภทของอีเลิร์นนิ่ง

1. อีเลิร์นนิ่งแบบประสานเวลา (Synchronous e-Learning) ได้แก่ ระบบหรือบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่จัดการเรียนรู้ตามเวลาจริงที่กำหนดไว้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าถึงกิจกรรมหรือเนื้อหาพร้อมกันและในเวลาเดียวกัน เช่น การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conferencing)

2. อีเลิร์นนิ่งแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous e-Learning) ระบบหรือบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่จัดสภาพการเรียนรู้ออนไลน์แบบต่างเวลากัน ผู้สอนและผู้เรียนเข้าระบบหรือบทเรียนต่างเวลากัน เครื่องมือสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบไม่ประสานเวลา ได้แก่ อีเมล (e-Mail) บล็อก (Blog)

3. อีเลิร์นนิ่งแบบประสมเวลา (Hybrid e-Learning) ระบบหรือบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่จัดสภาพการเรียนรู้ออนไลน์แบบเวลาเดียวกันและต่างเวลาประสมกัน ในบทเรียนมีทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการจัดการเรียนรู้ตามเวลาจริงและต่างเวลา ซึ่งใช้ผสมผสานกัน

- ระบบจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิ่ง

   ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ หรือระบบจัดการการเรียนรู้ หรือ LMS คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ขนาดใหญ่ ซับซ้อน ทำงานบนเว็บไซต์  ใช้สำหรับการบริหารจัดการการเรียนรู้ การเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง มีขั้นตอนการทำงานที่สลับซับซ้อน

- องค์ประกอบและหน้าที่ของ LMS
    ประกอบด้วย  5 ระบบ

1.ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management)

2.ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management)

3.ระบบสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System)

4.ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools)

5.ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประเพณีวัฒนธรรม

การแข่งโพน ช่วงเวลา           ปลายเดือนสิบ ก่อนประเพณีชักพระ ความสำคัญ            วัดต่าง ๆ เตรียมทำบุษบก หุ้มโพน และเริ่มการคุมโพนเพื่อเป็น...